สถิติ
เปิดเมื่อ6/03/2015
อัพเดท7/03/2015
ผู้เข้าชม332692
แสดงหน้า401330
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




10 เรื่องเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้งที่คุณเคยไม่รู้

6/03/2015 18:02 เมื่อ 6/03/2015 อ่าน 351 | ตอบ 0

10 เรื่องเกี่ยวกับมาร์เก็ตติ้งที่คุณเคยไม่รู้

1.คนที่คุณติดต่อด้วยและเรียกเขาหรือเธอว่าโบรกเกอร์ฺเป็นประจำนั่นแหละคือMarketing หรือพนักงานฝ่ายการตลาดประจำโบรกเกอร์(บริษัทนายหน้าค้าหุ้น)

2.มาร์เก็ตติ้่งไม่จำเป็นต้องจบด้านการเงิน หรือเศรษฐศาสตร์ หรือด้านการลง
ทุนมา เขาหรือเํธอจะจบการประมงหรือนาฏศิลป์มาก็ได้ ขอให้จบปริญญาตรีและสามารถสอบSell License หรือใบอนุญาตเป็นพนักงานขายหรือพนักงานการตลาดก็พอ(ซึ่งก็มีการติวเหมือนสอบอะไรอื่นๆนั่นแหละ) และกลต.บังคับให้ต้องมีการอบรม หรือrefreshเป็นประจำทุก2ปี

3.มาร์เก็ตติ้งจะรอฟังMorning Brriefหรือประชุมบ่ายก่อนเปิดเทรดจากฝ่ายวิเคราะห์(Analyst)จากบริษัทโบรกเกอร์นั้นๆว่าภาวะตลาดเป็นอย่างไร น่าซื้อหรือขาย และมีหุ้นให้ซื้อหรือขายประัจำวัน และสามารถให้คำแนะนำการลงทุนต่อลูกค้่าได้ หากได้รับอนุญาตเป็น”ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจากกลต.”

4.ในการโทรสั่งซื้อหรือขายทุกครั้งไปที่โบรกเกอร์ มาร์เก็ตติ้งจะบันทึกการสนทนาของคุณทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานว่าคุณได้สั่งซื้อขายจริง และป้องกันไม่ให้มีการกระทำผิดกฎกลต. เช่น ปล่อยข่าวลือ ข่าวลวง ข่าวปั่นต่างๆ หรือการทำผิดกฎกลต.(แต่มาร์เก็ตติ้งจะใช้มือถือโทรหาคุณเองหากมีข่าวทำนองที่ว่านี้)

5.มาร์เก็ตติ้งไม่มีเงินเดือนประจำ หรือหากจะมีก็เรียกว่าอินเทนซีฟที่บริษัทโบรกเกอร์จัดให้ แต่จะมีรายได้หลักจากค่านายหน้าคอมมิสชั่น เช่นคุณซื้อขาย1ล้านบาท จ่ายค่าคอมม์ไป2500บาท มาร์เก็ตติ้งจะได้ราวๆ700บาท ดังนั้นจึงผิดมหันต์หากคุณบอกว่าไม่รู้เรื่องหุ้นแล้วไปยกให้มาร์เก็ตติ้งจัดการซื้อขายแทนตัวคุณ เพราะมาร์เก็ตติ้งอาจจะซื้อๆขายๆบ่อยๆเพื่อหารายได้จากคอมมิสชั่นมากกว่าจะรักษาผลประโยชน์ของคุณเอง

6.มาร์เก็ตติ้งเคยได้ฉายาว่าเป็นมนุษย์ทองคำก็เพราะว่านอกจากรายได้จากค่าคอมมิสชั่นจำนวนมากหากตลาดบูมแล้วก็ยังอาจได้โบนัสงามๆจากบริษัทโบรกเกอร์อีก หากเป็นมัยบูมๆเคยมีจ่ายโบนัส24เดือนก็เคย หรือเป็น12เดือนก็มี แต่แน่นอนว่าบริษัทโบรกเกอร์ต้องตั้งเป้าหมายให้มาร์เก็ตติ้งทำยอดขาย หรือยอดเทรดให้ถึงเป้านั้นๆด้วย

7.มาร์เก็ตติ้งทุกคนจะบอกว่าพวกเขาหรือเธอไม่เคยซื้อขายหุ้นให้บัญชีตัวเอง เพราะเกรงจะเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน(Conflict of interest) แต่การมีบัญชีนอมินีซื้อๆขายๆนั้นเป็นเรื่องที่ทำกันแทบทุกคน(หรือจะเถียง) เหตุผลหนึ่งก็เพราะในยามตลาดซบเซาสุดๆลูกค้าแทบไม่มีรายการซื้่อขายก็พลอยได้อาศัยบัญชีนอมินีมาซื้อๆขายๆสร้างวอลุม เพราะหากไม่มีวอลุม บริษัทโบรกเกอร์ก็จะกดดันให้ลาออกอีกหละ

8.ลูกค้ามักมีความผูกพันกับมาร์เก็ตติ้งเป็นการส่วนตัวมากกว่าจะผูกพันอยู่กับบริษัทนายหน้าค้าหุ้น ก็จึงมักเห็นมีการย้ายค่าย การซื้อตัวหรือการซื้อยกทีมมาร์เก็ตติ้งกันอยู่เป็นปกติ(ที่ไม่ปกติคือพวกที่ไม่มีใครมาซื้อตัวนั่นแหละ แสดงว่าทำเงินจากวอลุมไม่เก่ง) เพราะหากลงทุนซื้อมาร์เก็ตติ้ง หรือซื้อมาร์เก็ตติ้งยกทีมไป ก็เท่ากับซื้อวอลุม ซื้อลูกค้าไปแบบยกล็อตนั่นเอง

9.มาร์เก็ตติ้งจะรู้เรื่องจังหวะซื้อขายเข้าออกด้วยชาร์ตเทคนิคน้อยมากจนน่าใจหาย หรือบางทีรู้เรื่องปัจจัยพื้นฐานแบบไม่รู้ลึก อ่านงานวิจัยก็แค่บันทัดสุดท้ายตรงประเมินมูลค่าหุ้นเหมาะสมและคำแนะนำ”ซื้อ”หรือ”ขาย”แล้วก็มาบอกต่อ พวกเขาหรือเธอมักเสาะแสวงหา”ข่าว”ประเภทที่เชื่อกันว่าข่าววงลึกวงใน ข่าวออเดอร์ขาใหญ่ ออเดอร์ฝรั่ง ออเดอร์ กองทุนซะมากกว่า แต่บางทีก็เจอสับขาหลอกกันไปมา ดังนั้นลูกค้าที่หวังพึ่งเรื่องจังหวะเข้ิาออกให้ถูกทางกับมาร์เก็ตติ้งจึงต้องคิดให้ดี(และมาร์เก็ตติ้งที่ไม่คิดจะหาความรู้เรื่องนี้ก็ระวังให้จงหนัก เพราะลูกค้าในช่วงหลังมีความรู้ดีมากๆ พวกเขาไม่เทรดตามข่าวอะไรอีกแล้ว)

10.หากมาร์เก็ตติ้งทำเสียงกระซิบกระซาบกับคุณว่าข่าวนั้นวงในมากๆให้ซื้อเดี๋ยวนี้ อาจจะแปลความไปอีกทางว่าเขาหรือเธอกำลังวางขายอยู่ และลุ้นสุดขีดให้คุณตกลงเคาะ ณ วินาทีนั้น

ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :